ว่ากันด้วยเรื่องของเครื่องปั่นไฟนั้น…ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีในยามคับขันเลยหล่ะครับ แต่ไอ่เจ้าเครื่องปั่นไฟฟ้านี้ หลายๆ ท่านก็คงจะไม่ได้เข้าใจอะไรลึกซึ้งเกี่ยวกับหลักการทำงานของเจ้าเครื่องนี้เป็นแน่ วันนี้เราจึงจะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับ  “หลักการทำงานของเครื่องปั่นไฟ” และ “เปรียบเทียบเครื่องปั่นไฟแต่ละยี่ห้อ”กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เราไปดูกันดีกว่าครับ

ทำความรู้จักกับเครื่องปั่นไฟฟ้า

เครื่องปั่นไฟ หรือ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลให้กลายมาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้หลักการของไมเคิล ฟาราเดย์ ซึ่งก็คือการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก โดยหลักการคือ เมื่อมีการเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำผ่านสนามแม่เหล็ก หรือมีการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนำ จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น จนเกิดเป็นกระแสไฟฟ้านั้นเองครับ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟ แบ่งออกได้เป็น 2 ขนาด

●ขนาด เล็ก – กลาง เครื่องปั่นไฟขนาดนี้ นิยมนำไปใช้ในครัวเรือน ตามไซต์งานก่อสร้างขนาดเล็ก รวมถึงนำไปใช้กับงานเชื่อมโลหะ โดยเครื่องปั่นไฟขนาดเล็กนั้น มีกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 1-20 KVA ส่วนขนาดกลาง มีกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 20-50 KVA)

●ขนาดใหญ่ เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ จะนิยมนำไปใช้ตามงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ในโรงงาน โรงแรม ในอาคารสูง เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ มีกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 50-100KVA ขึ้นไป

หลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้ามีกี่ประเภท

แบบทุ่นหมุน ลักษณะของเครื่องปั่นไฟนี้ คือใช้การหมุนขดลวดทองแดงที่พันอยู่บนแกนเพลา ตัดผ่านเส้นแรงแม่เหล็กที่อยู่บนเปลือกเพื่อทำให้เกิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นที่ปลายขดลวดทองแดง จากนั้นวงแหวนทองเหลือง และแปรงถ่านจะนำแรงดันไฟฟ้านี้ไปใช้งานต่อ ส่วนขั้วแม่เหล็กที่จะทำให้เกิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำนี้ ไม่ได้เป็นแม่เหล็กถาวรหรือแม่เหล็กธรรมชาติ จึงพบว่าความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กอาจไม่คงที่ จึงต้องใช้ไฟฟ้ากระแสตรงป้อนผ่านขดลวดทองแดงที่พันรอบแกนเหล็กอ่อน เพื่อทำให้เกิดแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณไฟฟ้ากระแสตรง จะเข้าไปควบคุมปริมาณแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับได้

แบบขั้วแม่เหล็กหมุน ลักษณะของ Generator ประเภทนี้ คือใช้การหมุนขั้วแม่เหล็กที่อยู่บนเพลา ทำให้เส้นแรงแม่เหล็กตัดผ่านขดลวดทองแดงที่พันติดอยู่บนเปลือก ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าบนปลายขดลวดทองแดง ซึ่งไม่ต้องใช้แหวนทองเหลืองและแปรงถ่านเพื่อเอาไปใช้งาน แต่ให้นำไปต่อกับขดลวดทองแดงที่พันอยู่บนแกนแม่เหล็กแทน เพื่อทำให้สนามแม่เหล็กมีความเข้มมากขึ้น

แบบไม่มีแปรงถ่าน ในส่วนนี้มีการแบ่งขั้นตอนการทำงานที่ค่อนข้างจะย่อยออกไปอีกหลายขั้นตอน จึงขอไม่พูดถึงในบทความนี้

เปรียบเทียบเครื่องปั่นไฟ 3 ยี่ห้อ

●INGCO เครื่องปั่นไฟพกพา เบนซิน 2 จังหวะ 0.65 kW (650 วัตต์) รุ่น GE8002

●HONDA เครื่องปั่นไฟเบนซิน EZ3000CX-R (2.5kva)

●เครื่องปั่นไฟ 800W TOTAL TP18001 เบนซิน เครื่องยนต์ 2 จังหวะ 2 แรงม้า

INGCO รุ่น GE8002HONDA EZ3000CX-RTOTAL TP18001
รุ่น EZ3000CXกำลังไฟฟ้า 2.5 กิโลวัตต์กำลังไฟใช้งานปกติ 2.3 กิโลวัตต์กระแสไฟใช้งานปกติ 10.2 Vแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ/ความถี่ไฟฟ้า 200/50 V/Hzระบบความคุมแรงดันไฟ AVRชื่อ GP200H VXH1ชนิด 4 จังหวะ วาล์วเหนือลูกสูบระบายความร้อนด้วยอากาศ ลูบเดียวความจุกระบอกสูบ 196 cm3ความเร้ซรอบเครื่องยนต์ 3000 rpmความจุน้ำมันเครื่อง 0.6 ลิตรระบบสตาร์ท รีคอยล์สตาร์ทความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง 11.5 ลิตรกxยxส 560x660x530 mmน้ำหนัก 44 กิโลกรัมแรงดันไฟฟ้า 220V 50/60 Hzกระแสออกสูงสุด 800W / 650Wความเร็วรอบ 3000 รอบ/นาทีเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 63 ซีซีถังน้ำมัน 4 ลิตรคอยล์ อลูมิเนียมน้ำหนัก 16.5 กิโลกรัมแรงดันไฟฟ้า 220-240V 50-60 Hzกระแสไฟออกสูงสุด 800 วัตต์ / กระแสไฟออก 650 วัตต์ลักษณะการใช้งาน – เชือกดึงสตาร์ทความเร็วรอบ 3000 RPMแผงควบคุมเต็มรูปแบบใช้งานง่าย มีระบบตัดไฟอัตโนมัติ (AC)แรงดันกระแสไฟตรง 12V 8.3Aทำงานต่อเนื่องได้ยาวนานสูงสุด 10 ชม. มีระบบระบายความร้อนความจุกระบอกสูบ : 63 ซีซีความจะถังน้ำมันเชื้อเพลิง 4 ลิตรแข็งแรง ทนทาน กระแสไฟเสถียร วัตต์เต็มเหมาะสำหรับการใช้งานนอกสถานที่ เคลื่อนย้ายสะดวกน้ำหนักตัวเครื่อง 17 Kg.

จะเห็นได้ว่าเครื่องปั่นไฟมีหลายขนาด หลายรุ่นและหลายคุณสมบัติให้เราได้เลือกสรรกันครับ เราหวังว่าการเปรียบเทียบนี้จะทำให้ท่านได้ความรู้เพิ่มขึ้นนะครับ