ปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานแท่นชาร์จไฟฟ้าหรือแท่นชาร์จรถยนต์กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น เพราะด้วยราคาของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีให้เลือกหลากหลายแบรนด์ทำให้ราคา ณ ตอนนี้สามารถจับต้องได้มากขึ้น ความต้องการใช้งานทั้งรถและแท่นชาร์จจึงมากขึ้นตามไปด้วย วันนี้เราจึงถือโอกาสพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ “แทนชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า” กันสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

รู้จักกับ แท่นชาร์จรถไฟฟ้า

EV Charger หรือ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นตัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยสามารถแบ่งการชาร์จออกเป็น 2 ประเภท คือ Normal Charge และ Quick Charge

●Normal Charge เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่ยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC ขนาดของตัว On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถยนต์ ซึ่งขนาดของ On Board Charger จะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่รถยนต์

●Quick Charge จะเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charger (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่แปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยกว่าแบบ Normal Charger หัวชาร์จ (SOCKET) ของตู้ EV Charger จะมีทั้งแบบที่เป็น AC และ แบบ DC ประเภทของหัวชาร์จจะขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์

หากจะติดตั้งแท่นชาร์จ (EV Charger) สักเครื่องจะต้องใช้เงินไปกับอะไรบ้าง?

การลงทุนสำหรับการติดตั้งแท่นชาร์จรถไฟฟ้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่…

●ค่าเครื่อง EV Charger โดยราคาของ EV Charger ขึ้นอยู่กับขนาดของกำลังไฟที่เราต้องการ ซึ่งอันดับแรกเลยเราต้องดูความสามารถในการรับไฟของเจ้า On Board Charger ของรถยนต์แต่ละรุ่นนะคะ ทั่วไปก็จะขนาดตั้งแต่ 3.6 kW ถึง 22 kW ซึ่งเจ้า On Board Charger นี้เป็นตัวควบคุมการดึงพลังงานไฟฟ้าที่จะสั่งการไปยังเครื่อง EV Charger ว่าให้ปล่อยไฟฟ้ามาให้ทำให้ตัวเครื่องชาร์จส่วนใหญ่ออกแบบมา 4 ขนาดคือ 3.7 kW, 7.4 kW, 11kW และ 22 kW ราคาของเครื่องจึงมีตั้งแต่ 15,000 ไปจนถึง 100,000 กว่าบาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ โดยเครื่อง EV Charger สำหรับใช้งานในบ้านจะเป็นเครื่องชาร์จแบบ AC คือกระแสไฟสลับ ซึ่งจะมี 2 ขนาดที่นิยมในปัจจุบันคือ ขนาด 3.6 kW และ 7.2 kW เมื่อติดกับไฟบ้านที่มีขนาดมิเตอร์ต่างกัน เช่น 1 เฟส กับ 3 เฟส ก็จะให้กำลังไฟขนาดต่างกันดังนี้

– ขนาด Output 3.6 kW ใช้กำลังไฟ 16A ติดตั้งกับไฟบ้าน 1 เฟส ให้กำลังไฟ 3.6×1 = 3.6 kW
– ขนาด Output 3.6 kW ใช้กำลังไฟ 16A ติดตั้งกับไฟบ้าน 3 เฟส ให้กำลังไฟ 3.6×3 = 11 kW
– ขนาด Output 7.2 kW ใช้กำลังไฟ 32A ติดตั้งกับไฟบ้าน 1 เฟส ให้กำลังไฟ 7.2×1 = 7.2  kW
– ขนาด Output 7.2 kW ใช้กำลังไฟ 32A ติดตั้งกับไฟบ้าน 3 เฟส ให้กำลังไฟ 7.2×3 = 22 kW

ค่าติดตั้งเครื่อง EV Charger ซึ่งจะขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นต่างๆ พร้อมกับค่าเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าซึ่งควรจะติดต่อกับการไฟฟ้าโดนตรงจะดีที่สุดครับ

ข้อดีของการมีแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้าน

สามารถชาร์จแบตได้ที่บ้าน เปลี่ยนภาพจากที่เคยต่อคิวยาวเพื่อเติมน้ำมันที่ปั๊ม หรือต้องขับรถไกลเพราะไม่มีปั๊มน้ำมันใกล้บ้าน เพราะรถไฟฟ้า EV สามารถชาร์จแบตได้ที่บ้าน สามารถชาร์จทิ้งไว้ได้ระหว่างที่นอนหลับ ตื่นเช้ามารถไฟฟ้า EV ก็อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ต้องกังวลเรื่องการเสียเวลาหรือเสียเวลาเติมน้ำมันที่ปั๊มอีกต่อไป

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำควารู้จักกับแทนชาร์จรถยนต์” ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นกันครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยกันนะครับ