ในปัจจุบันการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนไฟฟ้ากำลังเป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่วัยทำงานและวัยกำลังสร้างตัว เนื่องด้วยตัวรถยนต์ไฟฟ้าตอบโจทย์ในการดำเนินชีวิตหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดค่าน้ำมัน รถสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง อย่างอัจฉริยะ แต่ข้อเสียใหญ่ๆ ของรถยนต์ไฟฟ้านั้นก็คือการที่ยังขาดสถานีชาร์จไฟฟ้านั้นเองครับ วันนี้เราจะมาค้นหาคำตอบกันว่า “อนาคตของธุรกิจสถานีชาร์จไฟ” น่าลงทุนหรือไม่กันครับ

ทำความรู้จักกับสถานีชาร์จไฟฟ้า

EV Charger หรือ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นตัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยสามารถแบ่งการชาร์จออกเป็น 2 ประเภท คือ Normal Charge และ Quick Charge

– Normal Charge เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่ยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC ขนาดของตัว On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถยนต์ ซึ่งขนาดของ On Board Charger จะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่รถยนต์

– Quick Charge จะเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charger (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่แปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยกว่าแบบ Normal Charger หัวชาร์จ (SOCKET) ของตู้ EV Charger จะมีทั้งแบบที่เป็น AC และ แบบ DC ประเภทของหัวชาร์จจะขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์

แนวโน้มของธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้าเป็นอย่างไร?

เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าขยายตัวมากขึ้นในอนาคต สิ่งที่เติบโตควบคู่เพื่อรองรับความต้องการ คือ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) แต่ก็มาพร้อมกับต้นทุนที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากตู้ชาร์จ และระบบต่าง ๆ ที่ทำงานหลังบ้าน ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ธุรกิจนี้มีข้อจำกัด ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐจึงจะดำเนินการได้ดีที่สุดครับ

รวมสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยของแต่ละค่ายในกรุงเทพ

PTT EV Station

สถานีบริการ สาขาแยกประชาอุทิศ-ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

สถานีบริการ สาขาเอกมัย-รามอินทรา กรุงเทพฯ

สถานีบริการ สาขาลาดพร้าววังหิน กรุงเทพฯ

สถานีบริการ สาขามัยลาภ กรุงเทพฯ

สถานีบริการ สาขาประชาชื่น 2 กรุงเทพฯ

สถานีบริการ สาขาบรมราชชนนี (ขาเข้า) กรุงเทพฯสถานีบริการ สาขาราชพฤกษ์ 1 กรุงเทพฯ

สถานีบริการ สาขาราษฎร์บูรณะ (ขาออก) กรุงเทพฯ

สถานีบริการ สาขาทุ่งครุ กรุงเทพฯ

สถานีบริการ สาขาพระราม 2 (ขาเข้า) กรุงเทพฯ

สถานีบริการ สาขาพระราม 2 (ขาออก) กรุงเทพฯ

การไฟฟ้านครหลวง (MEA)

การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ เพลินจิต

การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ

การไฟฟ้านครหลวง เขตสามเสน

การไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน

การไฟฟ้านครหลวง เขตบางขุนเทียน

การไฟฟ้านครหลวง เขตลาดกระบัง

การไฟฟ้านครหลวง เขตบางใหญ่

การไฟฟ้านครหลวง เขตราษฎร์บูรณะ

การไฟฟ้านครหลวง เขตมีนบุรี

การไฟฟ้านครหลวง สมุทรปราการ

PEA VOLTA

PEA VOLTA สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ

PEA VOLTA จ.สมุทรสาคร

PEA VOLTA เขาย้อย จ.เพชรบุรี

PEA VOLTA หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

PEA VOLTA พัทยาใต้ จ.ชลบุรี

การเลือกติดตั้ง EV Charger ให้เหมาะสมกับสถานที่และการใช้งานทำได้อย่างไรบ้าง?

การติดตั้งอุปกรณ์ EV Charger ตามสถานที่ต่างๆ จะเลือกตามความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการชาร์จ ยกตัวอย่างเช่น บ้านพัก ควรติดตั้ง EV Charger แบบ AC ก็เพียงพอ ถึงจะใช้เวลาในการชาร์จนาน แต่เวลาที่เราใช้ภายในบ้านก็ค่อยข้างนานเช่นกัน หรือ ถ้าต้องการตั้งเป็นสถานี EV Charger ที่ต้องการความเร็วในการชาร์จ ก็สามารถเลือกเป็นการชาร์จแบบ DC ซึ่งมีระดับการชาร์จถึง 3 ระดับ คือ DC destination , DC fast และ DC High Power ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยลงตา

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “อนาคตของธุรกิจสถานีชาร์จไฟ” ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ หวังว่าจะเข้าใจกันมากขึ้นนะครับ